เปิดเว็บขายของ vs ขายบน Facebook

ขายของออนไลน์ในเว็บหรือเฟสบุ๊ค.png

พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ อาจจะไม่แน่ใจว่าการขายของออนไลน์ จะเปิดเว็บขายของหรือขายบน Facebook ดี ถ้าเรามีเพจขายของอยู่แล้ว เราควรมีหน้าเว็บด้วยมั้ย? แล้วเว็บไซต์ควรเป็นเว็บที่สร้างเองหรือสมัครใช้บริการเว็บขายของ? จากประสบการณ์คนขายของออนไลน์ วันนี้พิมเพลินจะมาเล่าถึงข้อดีและข้อเสียของการขายของทั้งสองแบบ เพื่อให้คุณพ่อค้าแม่ค้าตัดสินใจว่าจะขายแบบไหนดีค่ะ

 

เปิดเว็บไซต์ขายเอง

การเปิดเว็บไซต์ขายของเอง สามารถทำได้ทั้งโดยการหาโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาเว็บไซต์ หรือการใช้บริการสร้างเว็บขายของ คุณพ่อค้าแม่ค้าเพียงแต่เข้าไปตกแต่งร้าน ใส่สินค้า คอยอัพเดทร้านเอง

 

ข้อดีของการขายของในเว็บไซต์ของตัวเอง

  • สามารถปรับเปลี่ยนเว็บได้ตามใจชอบให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าของเรา

  • สามารถสร้างระบบการรับชำระเงินขึ้นมาเองได้ เช่น สร้างให้ลูกค้าหยิบสินค้าลงตะกร้า คุณพ่อค้าแม่ค้าไม่ต้องมานั่งคุยเพื่อรับออเดอร์ เพียงแค่ดูว่าลูกค้าคนไหนสั่งซื้ออะไรและรอรับการชำระเงิน

 

ข้อเสียของการขายของในเว็บไซต์ของตัวเอง

  • ค่าใช้จ่ายในระยะเริ่มต้นสูง — ต้องมีค่าโฮสติ้ง, ค่านักออกแบบ, ค่าโปรแกรมเมอร์ กว่าที่เว็บจะออกมาถูกใจเรา

  • ลูกค้าไม่ชิน — ปฏิเสธไม่ได้ว่าการซื้อของออนไลน์ยังค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย ลูกค้าจำนวนมากเพิ่งซื้อของเป็นครั้งแรก จึงยังต้องการให้แม่ค้าจับมือทีละขั้นตอนอยู่ ถ้าเข้ามาเจอเว็บไซต์ขายของที่ไม่คุ้นตาแล้วใช้ไม่เป็น ก็จะมีความรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่กล้าโอนเงิน ถ้าโชคดีหน่อยก็จะโทรมาสอบถาม หรือโชคร้ายก็จะปิดไปเลย

  • การแข่งขันสูง — เว็บไซต์นั้นมีอยู่มากแล้ว ถ้าอยากให้ลูกค้าหาเจอ ติดหน้าแรกเวลาค้นหาจาก Google ก็ต้องใช้เวลาสร้างฐานลูกค้าและทำ SEO หรือหากจะลงโฆษณากับ Google ก็มีเรื่องให้ศึกษาและประเมินความคุ้มค่าอีกเต็มไปหมด

  • ลูกค้าน้อย — เพราะคนส่วนมากเขาไปนั่งเล่น Facebook เล่น Instagram เล่น LINE กันอยู่ คนที่มาเข้าเว็บไซต์ที่มีร้านขายของก็เลยเป็นคนที่ตั้งใจเข้ามาซื้อของจริงๆ ซึ่งก็มีจำนวนน้อย จากจำนวนที่น้อยอยู่แล้ว คุณก็ต้องแข่งกับร้านอื่นๆ ที่คอยแย่งลูกค้าไปจากคุณอีก สุดท้ายลูกค้าที่เหลือมาถึงร้านคุณก็ยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่เลยค่ะ

 

เปิดร้านบน Facebook

การขายของใน Facebook หมายถึงทั้งคนที่ขายของผ่านเพจร้านค้าออนไลน์ และคนที่ขายของในหน้า profile ส่วนตัวของตัวเองค่ะ

 

ข้อดีของการขายของในเฟสบุ๊ค

  • สะดวก — Facebook เป็นเว็บไซต์ที่มีมานานแล้ว คนส่วนมากก็ใช้งานเป็น เพราะฉะนั้นการพูดคุยหรืออัพโหลดรูปภาพใน Facebook ก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับทั้งพ่อค้าแม่ค้าและลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ สำหรับการขายของค่ะ

  • หาลูกค้าง่าย — ประเทศไทยมีผู้ใช้ Facebook เกิน 35 ล้านคน มากเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียนเลยนะคะ แถมแต่ละวันคนใช้เวลาไปกับการเล่น Facebook ตั้งหลายชั่วโมง เรียกได้ว่าคุณพ่อค้าแม่ค้าที่มีเพจร้านใน Facebook นี่มีกลุ่มลูกค้าอยู่ในกำมือเลยค่ะ

  • ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้น— การใช้งานนอกจากจะง่ายแล้วยังฟรีอีกด้วย เพียงแค่สมัคร Facebook ด้วยอีเมล แล้วก็เริ่มใช้งานได้เลย

ข้อเสียของการขายของในเฟสบุ๊ค

  • คู่แข่งเยอะ — ยิ่ง Facebook ให้ใช้ฟรี มีคนใช้เยอะ คุณก็ยิ่งมีคู่แข่งเยอะขึ้นเป็นเงาตาม ดังนั้นจะต้องมีการวางแผนธุรกิจ แผนการตลาด และมีการบริการที่เหนือกว่าร้านอื่นๆ

  • มีค่าใช้จ่ายในการโฆษณา — เนื่องจากว่าตลาดร้านค้าออนไลน์ใน Facebook เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก ยังไง้~ยังไง คุณพ่อค้าแม่ค้าก็จะต้องเสียค่าโฆษณาให้ Facebook ค่ะ ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็มีโอกาสน้อยมากที่คนจะมาเจอร้านของเรา

  • การโฆษณายุ่งยาก — นอกจากจะต้องเสียเงินค่าโฆษณาแล้ว ต้องยอมรับเลยว่าการโฆษณาใน Facebook นั้นทำค่อนข้างยาก เพราะจะต้องมีการตั้งค่าหลายระดับ ไหนจะตั้งค่าว่ากลุ่มเป้าหมายเราเป็นใคร ไหนจะคำนวณงบประมาณที่คุ้มทุนสำหรับการโฆษณา แล้วก็ยังต้องมีความรู้อีกว่าใช้โฆษณาแบบไหนดี

 

สรุป ขายของออนไลน์ในเว็บไซต์หรือในเฟสบุ๊คดี?

พิมเพลินแนะนำว่าให้คุณพ่อค้าแม่ค้าดูความต้องการของตัวเอง ถ้าทำธุรกิจโรงงานเป็นผู้ผลิต บางทีการเปิดเว็บไซต์ของตัวเองเลยก็อาจจะจำเป็นและคุ้มค่า ส่วนคนที่เพิ่งเริ่มต้นขายของออนไลน์ มีทุนน้อย ก็อาจจะเริ่มจากการขายใน Facebook แล้วให้เพื่อนๆ ช่วยกันแชร์ช่วยกันโปรโมตก็ได้

แต่สำหรับพิมเพลินเอง พิมเพลินเลือกที่จะขายทั้งบน Facebook และบนหน้าเว็บไซต์ของตัวเองที่ Page365 สร้างให้หลังจากที่สมัครใช้บริการค่ะ ซึ่งไม่ยุ่งยากเลย เทียบกับการต้องไปสร้างเว็บเองหรือไปสมัครใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปอย่างที่บอก เพราะพิมเพลินสามารถช่วยจัดการร้านค้า ไม่ว่าจะเป็นบน Facebook บน LINE หรือหน้าเว็บไซต์ส่วนตัว ที่เรียกว่า Page365 Store ได้ในที่เดียวเลย ไม่ต้องแยกกันบริหารหลายๆ ที่ และที่สำคัญคือเริ่มใช้งานได้ฟรี ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งนั้น

 

 

หากคุณสนใจใช้งาน Page365 คุณสามารถ สมัครใช้งานฟรี

หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เริ่มต้นกับ Page365 หรือ ทำไมเราถึงฟรี?